ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547
ทำให้โครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
ได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับกับการแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย
ซึ่งประกอบด้วยคณะ 6 คณะ สำนัก 4 สำนัก และสถาบัน 1 สถาบัน
สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ ( สสร.)
จึงเป็นหน่วยงานส่วนราชการตามโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยที่ประกาศอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2549 (เริ่มมีการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548)
การดำเนินงานบริการวิชาการซึ่งเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยนั้น
เดิมจัดอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักวิจัยและบริการวิชาการ
แต่เมื่อมีการจัดโครงสร้างส่วนราชการของมหาวิทยาลัยใหม่
ทำให้งานบริการวิชาการโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
โดยมีงานสำคัญที่ สำนักฯ รับผิดชอบ ได้แก่ งานส่งเสริมการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
งานบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น งานบริหารงานทั่วไป
และงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปัจจุบันสำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนให้คณะ
สำนักและศูนย์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้จัดทำบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น
ที่สอดคล้องกับนโยบาย และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
การสำรวจความต้อการของท้องถิ่นในการดำเนินงานบริการวิชาการ
โดยดำเนินงานทั้งในรูปแบบของการให้บริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยจัดสรรงบประมาณสนับสนุน
และการใช้แหล่งงบประมาณจากภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ สำนักฯ
ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แก่หน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
1. การสืบสานแนวพระราชดำริ
2. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
3. การให้คำปรึกษาและบริการวิชาการ
4. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ และนวัตกรรม
1.ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ได้ตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น หรือองค์การเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและมีความเข้มแข็งสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น หรือองค์การเป้าหมาย
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมืองานพันธกิจสัมพันธ์ และสืบสานศาสตร์พระราชากับชุมชนหน่วยงานภายใน
หน่วยงานภายนอก ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น หรือองค์การเป้าหมาย
3. นักศึกษา บุคลากร และประชาชนมีการพัฒนาความรู้
และเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา
4. สังคม องค์กรท้องถิ่น มีแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพันธกิจสัมพันธ์ และสืบสานศาสตร์พระราชา
5. งานพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและ ท้องถิ่น
ทำให้เกิดรายได้และสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน หรือองค์การ
1. ศึกษาแนวพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลพระราชดำรัส/พระบรมราโชวาท
3. ฝึกอบรมขยายผลแนวพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติ
4. ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและประชาชนในท้องถิ่น
5. พัฒนาหลักสูตรและจัดฝึกอบรมทั้งหลักสูตรทั่วไปและหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น
6. พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและบริการวิชาการ
7. สร้างความร่วมมือ จัดทำโครงการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ
8. รวบรวม สังเคราะห์องค์ความรู้ และนวัตกรรม
9. พัฒนาสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
1. พัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินการของมหาวิทยาลัย
หรือมีการต่อยอดความรู้กับชุมชนท้องถิ่น และองค์การเป้าหมายที่ก่อให้เกิดรายได้
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และชุมชน หรือองค์การเป้าหมาย
มีส่วนร่วมในการพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ การพัฒนาศักยภาพอาจารย์
ที่มีผลต่อการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม
3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานในการพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ตามความต้องการของสังคม หรือชุมชน
และก่อให้เกิดวิจัยชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ให้เกิด
การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4. การจัดการความรู้ด้านงานพันธกิจสัมพันธ์ และงานสืบสานศาสตร์พระราชา โดยถ่ายทอดองค์ความรู้
และเผยแพร่สู่บุคลากร นักศึกษาและสาธารณชน
5. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาชุมชน หรือองค์การเป้าหมาย
ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษา
6. เสริมสร้างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และหลักธรรมมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. เป็นแหล่งเรียนรู้และต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
8.
ส่งเสริมและพัฒนาให้มีการน้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่หน่วยงานภายใน
ภายนอก และชุมชน